เรื่อง มุม
( Angle)
มุมเกิดจากรังสีหรือส่วนของเส้นตรงสองเส้นที่มีจุดปลายเป็นจุดเดียวกัน จุดนี้เรียกว่า จุดยอดมุม และรังสีหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้นเรียกว่า แขนของมุม
พิจารณาจากรูปต่อไปนี้
จากรูป
เรียกว่า แขนของมุม
จุด ก เรียกว่า จุดยอดมุม
จากรูป
เรียกว่า แขนของมุม
จุด ด เรียกว่า จุดยอดมุม
การเรียกชื่อมุม
ในการเรียกชื่อมุม จะเรียกด้วยตัวอักษรทั้งสามตัว ซึ่งจะเรียกชื่อจุดบนแขนของมุมข้างหนึ่งข้างใดก่อนตามด้วยชื่อจุดยอดมุม และชื่อจุดบนแขนของมุมข้างที่เหลือตามลำดับ หรืออาจเรียกชื่อมุมตามชื่อจุดยอดมุม ดังรูป
ชนิดของมุม
- มุมฉาก คือ มุมที่มีขนาดเท่ากับ 90 องศา
- มุมแหลม คือ มุมที่มีขนาดเล็กกว่ามุมฉาก เป็นมุมที่มีขนาดมากกว่า 0 องศา แต่ไม่ถึง 90 องศา
- มุมป้าน คือ มุมที่มีขนาดใหญ่กว่ามุมฉาก แต่ไม่ถึง 2 มุมฉาก เป็นมุมที่มีขนาดมากกว่า 90 องศา แต่ไม่ถึง 180 องศา
- มุมตรง คือ มุมที่มีขนาดเท่ากับ 180 องศา หรือ 2 มุมฉาก
- มุมกลับ คือ มุมที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มุมฉาก แต่ไม่ถึง 4 มุมฉาก เป็นมุมที่มีขนาดมากกว่า 180 องศา แต่ไม่ถึง 360 องศา
เครื่องมือสำหรับวัดขนาดของมุม
เครื่องมือที่ใช้วัดขนาดของมุม เรียกว่า ไม้โพรแทรกเตอร์ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดครึ่งวงกลม และชนิดสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ไม้โพรแทรกเตอร์ แบ่งเป็น 180 ช่อง
1 ช่อง บอกขนาดของมุม 1 องศา
หน่วยการวัดขนาดของมุม
ในการวัดขนาดของมุมจะใช้หน่วยเป็น องศา ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ " º " โดยเขียนไว้ทางด้านขวาให้อยู่ในระดับสูงกว่าตัวเลขที่แสดงขนาดของมุม เช่น 90 องศา เขียนแทนด้วย 90º
การวัดขนาดของมุม
โดยใช้ไม้โพรแทรกเตอร์จะต้องให้จุดกึ่งกลางของไม้โพรแทรกเตอร์ตรงกับจุดยอดมุมที่จะวัด และเส้นที่ชี้ที่ตัวเลข 0 (ศูนย์)บนไม้โพรแทรกเตอร์ต้องทาบสนิทกับแขนข้างหนึ่งของมุม อ่านขนาดของมุมโดยดูจากแขนของมุมอีกข้างหนึ่งว่า ชี้ที่ตัวเลขใดของชุดเดียวกัน (ถ้า "0" อยู่วงใน อ่านขนาดของมุมจากวงใน แต่ถ้า "0" อยู่วงนอก อ่านขนาดของมุมจากวงนอก
ถ้าแขนของมุมสั้น สามารถต่อแขนของมุมออกไป เพื่อให้วัดและอ่านขนาดของมุมได้สะดวกขึ้น (การต่อแขนของมุมออกไป ไม่ทำให้ขนาดของมุมเปลี่ยนแปลง)
ถ้าแขนของมุมสั้น สามารถต่อแขนของมุมออกไป เพื่อให้วัดและอ่านขนาดของมุมได้สะดวกขึ้น (การต่อแขนของมุมออกไป ไม่ทำให้ขนาดของมุมเปลี่ยนแปลง)
การสร้างมุม
วิธีการสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับมุมที่กำหนดให้ สามารถทำได้โดย
ขั้นที่ 1 ลากรังสีหรือส่วนของเส้นตรงที่เป็นแขนข้างหนึ่งของมุม
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดปลายของรังสีหรือส่วนของเส้นตรงที่เป็นแขนของมุม เพื่อใช้เป็นจุดยอดมุม
ขั้นที่ 3 วางไม้โพรแทรกเตอร์ให้จุดกึ่งกลางตรงกับจุดปลายของรังสี หรือส่วนของเส้นตรง โดยให้เส้นที่ชี้ตัวเลข 0 ทับกับแขนของมุม
ขั้นที่ 4 กำหนดจุดให้ตรงกับขนาดของมุมที่ต้องการ
ขั้นที่ 5 ลากรังสีหรือส่วนของเส้นตรงจากจุดยอดมุม โดยผ่านจุดที่กำหนดไว้
คลิปวิดีโอ เรื่อง มุม
วันที่ 5 กันยายน /2556
ได้ความรู้ทั้งเรื่องชนิดของมุม และเทคนิคการวัดขนาดของมุม ดีมากเลยค่ะ
ตอบลบได้บทนิยามของมุมไปในตัวเลย
ตอบลบเนื้อหาละเอียดมาก ได้ความรู้เกี่ยวกับมุมเยอะเลย
ตอบลบ...วีดีโอทำให้เข้าใจมุมเยอะดีค่ะ...^______________^
ตอบลบได้ความรู้มากเลยค่ะ สามารถนำไปเรียนได้ค่ะ
ตอบลบได้ความรู้เรื่องมุมเยอะเลยค่ะ เนื้อหาดีทำให้เข้าใจได้ง่าย
ตอบลบได้ความรู้เกี่ยวกับมุมเยอะเลย
ตอบลบได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยคร่า ขอบคูณค่ะ
ตอบลบเข้าใจเนื้อหาของมุมมากขึ้น เข้าใจง่าย
ตอบลบความรู้น่าสนใจมากเลย
ตอบลบแล้วมุมศูนย์ ทำไง ไม่มีบอก
ตอบลบลบhttpเเล้วเปลี่ยนเป็นhttps
ตอบลบอยากอยู่เด้ออออ
ตอบลบว
ตอบลบขอบคุณมากๆเลยค่ะ
ตอบลบ