วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556


ทรงกลม (Sphere)

ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า ทรงกลม ดังนี้

รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกว่า ทรงกลม

จุดคงที่นั้นเรียกว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
ระยะที่เท่ากันนั้นเรียกว่า รัศมีของทรงกลม



พื้นที่ผิวและปริมาตรของทรงกลม

ทรงกลม คือ ทรงสามมิติที่มีผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดอยู่บนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน

จุดคงที่ เรียกว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
ระยะที่เท่ากัน เรียกว่า รัศมีของทรงกลม



พื้นที่ผิวของทรงกลม

พื้นที่ผิวของทรงกลม เป็นสี่เท่าของพื้นที่วงกลม ซึ่งมีรัศมีเท่ากับรัศมีของทรงกลม



ปริมาตรของทรงกลม

ปริมาตรของทรงกลมอาจหาได้จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของครึ่งวงกลมกับปริมาตรของกรวย



ข้อกำหนด

1) ครึ่งของทรงกลมที่มีรัศมี r หน่วย
2) กรวยที่มีรัศมีเท่ากับครึ่งทรงกลม r หน่วย และส่วนสูงของกรวย (h) เป็น 2 เท่าของรัศมี ฐานของกรวย คือ 2 r หน่วย


วิดีโอ เรื่อง ทรงกลม ตอนที่ 1




วิดีโอ เรื่อง ทรงกลม ตอนที่ 2





วันที่ 14 กันยายน 2556






กรวย (Cone)

ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า กรวย ดังนี้

รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า กรวย

พื้นที่ผิวและปริมาตรของทรงกรวย     

กรวย คือ ทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกับฐานและเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใด ๆ บนเส้นรอบวงของฐาน เรียกเส้นตรงนี้ว่า สูงเอียง



พื้นที่ผิวของกรว

การหาพื้นที่ผิวเอียงของกรวย ทำได้โดยตัดกรวยตามแนวสูงเอียงแล้วคลี่แผ่ออกจะเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานโค้ง




ปริมาตรของกรวย

ความสัมพันธ์ของปริมาตรของกรวยกับทรงกระบอก จะเหมือนกับความสัมพันธ์ของปริซึมกับ
พีระมิด ที่มีส่วนสูงและพื้นที่ฐานเท่ากัน นั่นคือ ปริมาตรของกรวย เป็นของปริมาตรของทรงกระบอก ที่มีพื้นที่ฐานและส่วนสูงเท่ากับกรวย





วิดีโอ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรทรงกรวย




วันที่ 14 กันยายน 2556
พีระมิด (Pyramid)
ในทางคณิตศาสตร์ ให้ความหมายคำว่า พีระมิด ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า พีระมิด
พื้นที่ผิวของพีระมิด
  • พื้นที่ผิวข้าง                                
                     
                                         รูปพีระมิด
  
 เมื่อคลี่พีระมิดออกมา จะได้เป็นรูปดังนี้  
          
                                                
พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด ได้แก่พื้นที่ของหน้าทุกหน้าของพีระมิด (ไม่รวมฐาน)  หรือก็คือ พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมทุกรูปรวมกัน นั่นเอง
จาก สูตรพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม = ½ × ฐาน × ความสูง             

ดังนั้น                    

สูตรการหาพื้นที่ผิวข้างของพีระมิด 1 ด้าน = ½ × ฐาน × สูงเอียง                       

* ในกรณีที่เป็นพีระมิดตรง (ฐานเป็นรูปเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า)              

จะได้ว่า                      

พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด = ½ × ความยาวรอบฐาน × สูงเอียง                    
                  
พิสูจน์                     

 พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด  =  พื้นที่สามเหลี่ยมทุกรูปรวมกัน                    
                                 = (พื้นที่สามเหลี่ยม 1 ด้าน) × จำนวนด้านของฐาน ---- จำนวนรูปสามเหลี่ยม จะเท่ากับจำนวนเหลี่ยมหรือด้านของฐาน
                                 = (½ × ฐาน × สูงเอียง) × จำนวนด้านของฐาน                    
                                 = ½ × [จำนวนด้านของฐาน x ฐาน] x สูงเอียง                    
                                                      
                                 = ½ × [ความยาวรอบฐาน] x สูงเอียง 
  •  พื้นที่ผิว                     
พื้นที่ผิวของพีระมิด คือ ผลรวมของพื้นที่ผิวข้างทุกด้านของพีระมิด            
ดังนั้น                    

·         พื้นที่ผิวทั้งหมด = พื้นที่ฐาน + พื้นที่ผิวข้างทุกด้าน                     

 สรุป                    

1)   พื้นที่ของหน้าทุกหน้าของพีระมิดรวมกันเรียกว่า  พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด  
และพื้นที่ผิวข้างของพีระมิดรวมกับพื้นที่ฐานของพีระมิดเรียกว่าพื้นที่ผิวของพีระมิด            

 2)  สูตรการหาพื้นที่ผิวข้างของพีระมิด 1 ด้าน = ½ × ฐาน × สูงเอียง    
                                

 3)  ในกรณีที่เป็นพีระมิดตรง (ฐานเป็นรูปเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า)                     
    
     สูตรพื้นที่ผิวข้างของพีระมิด = ½ × ความยาวรอบฐาน × สูงเอียง      

 4)  สูตรการหาพื้นที่ผิวทั้งหมด = พื้นที่ฐาน + พื้นที่ผิวข้างทุกด้าน  


วิดีโอ เรื่อง พื้นที่และปริมาตรของพีระมิด




วันที่ 14 กันยายน 2556




ทรงกระบอก (Cylindrical)

ในทางคณิตศาสตร์ให้ความหมายคำว่า ทรงกระบอก ดังนี้

รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้ว จะได้หน้าตัดเป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกันฐานเสมอ เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า ทรงกระบอก


1. ส่วนประกอบของทรงกระบอก


(ซ้าย คือ ทรงกระบอกตรง, ขวา คือ ทรงกระบอกเอียง)


ทรงกระบอกกลวง


2. พื้นที่ผิวของทรงกระบอก

2.1) พื้นที่ผิวข้าง

เมื่อคลี่ส่วนของหน้าตัด และส่วนข้างออกมา จะได้ดังรูป
อธิบายภาพเพิ่มเติม

1) พื้นที่ผิวข้างของทรงกระบอก เมื่อคลี่ออกมา เทียบได้กับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ดังนั้น พื้นที่ผิวข้างของทรงกระบอก = 2¶rh
2) พื้นที่ฐาน หรือพื้นที่หน้าตัด เป็นพื้นที่รูปวงกลม = ¶r2
2.2) พื้นที่ผิว

·         พื้นที่ผิวของทรงกระบอก = พื้นที่ผิวข้าง + พื้นที่ฐานทั้งสอง

พื้นที่ผิวของทรงกระบอก = 2¶rh + 2(¶r2)

เมื่อ  r  แทนรัศมีของฐาน
และ  h  แทนความสูงทรงกระบอก


3. ปริมาตรของทรงกระบอก
·         ปริมาตรของทรงกระบอก = พื้นที่ฐาน × สูง



วิดีโอ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมตรทรงกระบอก














ปริซึม (Prism)

ในทางคณิตศาสตร์ ให้ความหมายคำว่า ปริซึม ดังนี้

รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ฐานทั้งสองอยู่บนระนาบเดียวกัน และด้านข้างแต่ละด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หรือเรียกง่ายๆว่า แท่งเหลี่ยมตัน
         
   
    1.การเรียกชื่อปริซึม                    
     
 ปริซึมมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับหน้าตัดของรูปนั้นๆ การเรียกชื่อปริซึมนิยมเรียกชื่อตามลักษณะรูปเหลี่ยมของฐาน






2. ส่วนประกอบของปริซึม  

                                        
3. พื้นที่ผิวของปริซึม

    3.1) พื้นที่ผิวข้าง  

·         พื้นที่ผิวข้างของปริซึม = ความยาวเส้นรอบฐาน × ความสูง  
              
     3.2) พื้นที่ผิว    
       
·         พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึม = พื้นที่ผิวข้าง + พื้นที่หน้าตัดหัวท้าย                

4. ปริมาตรของปริซึม     
           
·         ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน × สูง 
      

                  วิดีโอ เรื่องการหาปริมาตรของปรึซึม




ที่มา  http://mathonlinefree.blogspot.com/2013/06/13_6884.html   
        http://www.youtube.com/watch?v=I9aadNBc96M

วันที่ 15 กันยายน 2556